“Little hands may only need encouragement from a big heart”
ประวัติผู้ก่อตั้ง
นางสาว รจนา แพรศรีทอง (ครูเอ๋ หรือแม่จ๋าของเด็ก) 1 ธันวาคม พ.ศ. 2508 - 24 ธันวาคม พ.ศ. 2560 เป็นผู้ก่อตั้ง มูลนิธิบ้านธารน้ำใจ
ท่านต้องออกจากบ้านตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 10 ขวบ โดยต้องอาศัยอยู่กับย่าที่สลัมคลองเตย เมื่อท่านอายุได้ 13 ปี คุณย่าให้ท่านทำงานเป็นภารโรง ทำความสะอาดส้วม และห้องเรียนให้กับเด็กๆ อนุบาล ตอนเช้าท่านต้องตื่นตั้งแต่ตี 5 เพื่อออกไปตลาดกับคุณย่ากลับมาท่านก็ต้องเข้าครัวช่วยคุณย่าประกอบอาหารให้เด็กๆนักเรียน ไม่มีเวลาที่จะได้เที่ยวซุกซนเหมือนเด็กอื่นๆ ไม่มีเวลาเป็นวัยรุ่นที่จะได้ใช้เวลากับเพื่อนวัยรุ่นด้วยกัน แล้วพากันไปเที่ยวตามที่ใจอยากไป ท่านมีแต่ทำงาน และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ ตอนเย็นท่านก็จะไปเรียนภาคค่ำ ท่านตั้งความหวังว่าท่านจะเป็นครูสอนเด็กๆในสลัมหรือไม่ก็ทำงานสังคมสงเคราะห์เพราะการได้ช่วยคนถือว่าเป็นบุญอันยิ่งใหญ่ ซึ่งเป็นคำสอนที่คุณย่าสอนเพื่อปลูกความคิดให้ท่านมีชีวิตเพื่อคนอื่นเพื่อสร้างความดีงาม เมื่อท่านเรียนจบชั้นมัธยมปลาย ท่านก็สมัครเป็นครูสอนเด็ก ท่านชอบแต่งเพลงและร้องเพลงให้เด็กๆสนุกสนานเพราะท่านมีพรสวรรค์กับเด็กๆ ท่านได้มีโอกาสเดินทางไปศึกษาอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี เนื่องด้วยเหตุผลส่วนตัวท่านจึงลากลับมาประเทศไทย ด้วยความที่ท่านเป็นเด็กฉลาด กล้าพูด กล้าแสดงออก 2 ปีที่ประเทศสหรัฐอเมริกาก็เพียงพอที่จะทำให้ท่านเก่งในการพูดภาษาอังกฤษได้ดีพอสมควร
พ.ศ.2547 วันที่ 26 ธันวาคม ประเทศไทย ได้รับภัยธรรมชาติครั้งรุนแรงที่สุดเท่าที่มีการบันทึก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวใต้มหาสมุทรอันดามัส่งผลให้เกิดคลื่นยักษ์สีมามิซัดเข้าชายฝั่งทะเล ส่งผลกระทบถึง 6 จังหวัดชายแดนใต้ที่อยู่ติดชายฝั่งอันดามัน ครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ (ผู้ก่อตั้งมูลนิธิดวงประทีป) เรียกประชุมเจ้าหน้าที่มูลนิธิดวงประทีป หาผู้เสียสละที่จะเดินทางลงไปช่วยผู้ประสบภัยสึนามิเป็นระยะเวลา 2 ปี ความเป็นคนมีเมตตาของท่าน (รจนา แพรศรีทอง) ท่านชอบช่วยเหลือผู้อื่นเสมอไม่ว่าท่านจะลำบากสักเพียงใด ถ้าท่านรู้ปัญหารู้ถึงความทุกข์ยากของผู้คนโดยเฉพาะเด็กๆ ท่านจะไม่ลังเลใจที่จะยื่นมือเข้าช่วย ท่านจึงยกมือเป็นคนแรก ทั้งที่ท่านมีลูกเล็ก 3 ขวบ และสามีของท่านก็ต้องปิดกิจการร้านอาหารเพื่อตามท่านไปช่วยเด็กๆผู้ประสบภัย (ภายหลังสามีย้ายกลับกรุงเทพฯ ท่านและลูกสาวต้นปาล์มยังคงปักหลักอยู่ต่อเพื่อเด็กๆ) การดำเนินงานในระยะแรกๆ เป็นไปอย่างยากลำบาก เจ้าหน้าที่ต้องนอนเต็นท์โดยมูลนิธิดวงประทีปมีเต้นท์กิจกรรมให้เด็กๆ ได้เล่นผ่อนคลาย ทั้งห้องสมุด ของเล่นอุปกรณ์เกมส์ผ่อนคลาย กีฬา เป็นต้น ทุกวันจะมีเด็กๆเป็นร้อยคนมาเล่นทั้งวันทุกวันซึ่งต่อมาก็มีเด็กที่ไม่ยอมกลับจากเต็นท์ที่ทางการจัดให้เพราะเด็กหลายคนกำพร้าพ่อแม่ที่จากไปพร้อมกับกับคลื่นยักษ์ และญาติๆก็ยุ่งอยู่กับการติดตามศพ เด็กๆจึงมาอยู่กับท่านมากขึ้นๆ เด็กๆผูกพันกับท่านมากขึ้น และเรียกท่านว่า"แม่จ๋า" ซึ่งเด็กๆมีมากถึง 25 คน และมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น ทั้งท่าน และเด็กๆ ใฝ่ฝันที่จะมีบ้านอยู่ ไม่ต้องนอนเต็นท์ ความพยายามจะสร้างที่พักให้เด็กๆ จึงเกิดขึ้น หลายเดือนผ่านไปจนเป็นปี ความฝันที่เด็กๆ จะมีบ้านอยู่ก็ได้เป็นจริงเมื่อมีผู้ใหญ่ใจบุญได้มาสร้างบ้านพักให้ โดยมีงบประมาณจากตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ด้วยการผลักดันของคุณกิตติรัตน์ ณ ระนอง ผู้ดำรงตำแหน่งผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในขณะนั้นเป็นผู้อนุมัติการช่วยเหลือการก่อสร้าง และผู้อุปการะชาวต่างประเทศอีกหลายคน ท่านจึงกลายเป็นคุณแม่ที่ต้องดูแลเด็กเกือบ 30 คน ภายใต้อาคารของบ้านธารน้ำใจที่ให้ความรัก ความอบอุ่น ทดแทนสิ่งที่เด็กๆขาดหายไป ท่านมักสอนเด็กๆ ว่าอย่าอายที่ตนเองเกิดมาจน หรือเป็นเด็กกำพร้า จงสร้างความดี จงมีความดีที่เกิดจากจิตใจและความสามารถ จงพิสูจน์ให้ผู้คนเห็นว่าเราเก่งและดี จงละอายถ้าทำผิดหรือทำสิ่งที่ไม่ดี และท่านมักสอนเด็กๆว่า ยามเราทุกข์มีคนช่วยเรา เมื่อผู้อื่นทุกข์เราก็ควรมีน้ำใจช่วยเหลือเขาเช่นเดียวกัน
OUR FOUNDER
Rotjana Phraesrithong (Kru Ae or Mae Jaa for the kids) December 1st 1965 - 24th December 2017 is the founder of the Baan Than Namchai Foundation.
When Rotjana was almost 10-years-old she left home and came to live with her grandmother. Having reached the age of 13, Rotjana was taken by her grandmother work as a cleaner at the Duang Prateep Kindergarten. She cleaned the classrooms and toilets. Each morning, she also woke at 5.00 am to accompany her grandmother to the market to buy fresh produce. After which she helped her grandmother cook in the kitchen for students' lunch. All of this left her no time to play like other children, and no time to spend with friends when she became a teenager. Rotjana's life revolved around work. Nevertheless, despite all the work, she continued to develop herself by studying at night school. She had dreams of becoming a teacher in the slum or performing some type of social work. She believed that helping others was the highest merit in life. Her grandmother had always taught her that helping others is a worthy way to conduct oneself. Having completed high school, Rotjana applied to work as a teacherwith Khru Mingporn and Khru Prateep. She enjoyed composing music and sang joyful songs with the children. She definitely had a talent for working with children. She had the opportunity to study in the United States for 2 years. Due to personal reasons, she took leave to return to Thailand. But, being a clever and self-confident girl, two years in the USA was enough for her to acquire good skills in communicating in English.
Then, on 26 December 2004, Thailand faced the biggest natural disaster in its history. An undersea earthquake near Indonesia, sent a huge tsunami smashing into the Andaman coastline of six southern provinces. Over 5,000 people were killed in Thailand that day. Back in Bangkok, Khru Prateep held a meeting with DPF staff to identify someone who was willing to go to the south and help the tsunami victims for the next two years. Rotjana, being a person who liked to helping others, raised her hand and volunteered to work there. At that time, her daughter was 3-years-old and her husband closed his "Spicy Minced Duck Salad" shop and followed Rotjana to live in Phang-nga. After that, her husband moved back to Bangkok, but Rotjana and her daughter continued on in the south to help the surviving children. The initial period of working was quite difficult for the staff, as they had to live in a tent. This DPF tent consisted of an area for sleep, an activities corner, a library, toy corner, games area, plus sport. While their older family members were out trying to locate missing relatives, each day a hundred children who had lost parents or relatives came to join the day's activities. Soon, twenty-five children also came to live with Rotjana in the tent, with more and more coming after that. They felt safe and protected with her and started calling her "mae ja" (“dear mom"). Both Rotjana and children dreamed of having proper accommodation and then it came true. A kind-hearted adult, H.E. Mr. Kittiratt na Ranong, Director of the Stock Exchange of Thailand at that time, approved the construction of a building. And together with many foreign sponsors a “warm house” was built to house Rotjana and the 30 children then under her care. “Baan Than Namchai”, a home filled with love and warmth, was born and would the substitute home for children who had lost the love of their families. Rotjana often taught children not to be ashamed of being born poor or an orphan. Instead, do good deeds, have goodness that comes from your heart and abilities. Prove to others that you are smart and good. Be ashamed if you do something wrong or bad and Rotjana also taught children that when we are in trouble, there are people who help us. When others are in trouble, we should also be kind enough to help them.
“มือเล็ก ๆ อาจต้องการเพียงกำลังใจจากหัวใจที่ยิ่งใหญ่ ”